ต้นตะแบกเลือด

ต้นตะเเบกเลือด

รหัสพรรณไม้:7-50160-002-029

ชื่อพรรณไม้:ตะแบกเลือด

ชื่ออื่น:เปื๋อยปั่ง, เปื๋อยปี, เปื๋อยสะแอน (ภาคเหนือ); มะกาเถื่อน (เงี้ยว-ภาคเหนือ); มะเกลือเลือด (ภาคกลาง); โคะกาง (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่); ตะแบกเลือด (ภาคตะวันตกเฉียงใต้); ปราบตำเลีย (เขมร-บุรีรัมย์); เปีย (อุบลราชธานี)

ชื่อวิทยาศาสตร์:Terminalia mucronata Craib & Hutch.

ชื่อวงศ์:COMBRETACEAE

ลักษณะวิสัย:ไม้ต้น

ลักษณะเด่นของพืช:ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงถึง 35 เมตร ลำต้นเปลาตรง ส่วนโคนต้นขรุขระเป็นสะเก็ด ส่วนบนเรียบเป็นหลุมตื้นๆ ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปมน ปลายใบแหลม ฐานใบมน ใบอ่อนมีขนทั้ง 2 ด้าน เส้นแขนงใบด้านล่างชัดเจน ก้านใบยาวประมาณ 1-2 ซม. มีต่อมอยู่ 1 คู่ ที่โคนก้านใบ ดอกออกเป็นช่อเดี่ยวๆ สีค่อนข้างเหลือง ยาว 9-15 ซม. ดอกย่อยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ขนาด 4-5 มม. กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาล ผลแห้ง มีครีบ 2 ครีบ ลักษณะแบนแผ่กว้างเป็นแผ่น ตัวผลมีรูปร่างมน มีขนสีน้ำตาลสั้นนุ่มแน่น ขนาดผลรวมทั้งครีบยาว 3-4 ซม. กว้าง 2.5-3 ซม. มีเมล็ดเดียวบริเวณที่พบ :หน้าศาลพระภูมิ





ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น